คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ต 3 – อัปไรซิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Command & Conquer: Red Alert 3 – Uprising)
คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ต 3 – อัปไรซิง
ผู้พัฒนาอีเอ ลอสแอนเจลิส
ผู้จัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิก อาตส์
อำนวยการผลิตอาเมร์ อะญะมี
ออกแบบเจเซน ทอร์เรส
โปรแกรมเมอร์ออสติน เอลลิส
ศิลปินแมต เจ. บริตตัน
ไมก์ โคลอนนีส
ไมเคิล เลย์โก
เขียนบทมิคัล เพเดรียนา
แต่งเพลงเจมส์ แฮนนิแกน
แฟรงก์ เคลอแพคี
ทิโมธี ไมเคิล วินน์
ชุดคอมมานด์ & คองเคอร์:
เรดอเลิร์ต
เอนจินเซจ 2.0
เครื่องเล่นอัปไรซิง
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
คอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์
เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360
วางจำหน่ายอัปไรซิง
  • ทั่วโลก: 12 มีนาคม ค.ศ. 2009[1]
คอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์
  • ทั่วโลก: 24 กันยายน ค.ศ. 2009[2]
แนววางแผนเวลาจริง
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ต 3 – อัปไรซิง (อังกฤษ: Command & Conquer: Red Alert 3 – Uprising) เป็นวิดีโอเกมวางแผนเวลาจริง ค.ศ. 2009 ที่พัฒนาโดยบริษัทอีเอ ลอสแอนเจลิส และเผยแพร่โดยบริษัทอิเล็กทรอนิก อาตส์ เกมนี้เป็นภาคเสริมแบบสแตนด์อโลนสำหรับคอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ต 3 ที่เผยแพร่สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และนำเสนอผ่านการแจกจ่ายแบบดิจิทัล ซึ่งมีแผนที่ใหม่ประมาณ 30 แผนที่สำหรับการต่อสู้อย่างประปรายแบบดั้งเดิม โดยหลายแผนที่เหล่านี้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมใหม่ อนึ่ง ภาคนี้ไม่มีองค์ประกอบของผู้เล่นหลายคน เช่น การเล่นแบบร่วมมือกัน, การเล่นออนไลน์ หรือการเล่นบนระบบเครือข่าย

ส่วนหนึ่งของภาคอัปไรซิงที่เรียกว่าคอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์ได้รับการเผยแพร่ในชื่อคอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ต 3 – คอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์ สำหรับเพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บอกซ์ 360 ในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2009 ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกมแบบสแตนด์อโลนและไม่ต้องการเรดอเลิร์ท 3 เพื่อเล่น ภาคคอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์มีเฉพาะโหมดคอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์ของอัปไรซิง รวมถึงยูนิตและอาวุธใหม่ แต่ไม่มีโหมดการทัพ (campaign) หรือโหมดการต่อสู้อย่างประปราย (skirmish)[2]

การทัพ[แก้]

ภาคอัปไรซิงได้หยิบยกการทัพฝ่ายสัมพันธมิตรของเกมดั้งเดิมที่ค้างไว้ โดยมี "การทัพขนาดเล็ก" (mini-campaigns) สี่รายการ, หนึ่งการทัพสำหรับแต่ละฝ่ายในเรดอเลิร์ต 3 และอีกหนึ่งโบนัสที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ต้นกำเนิดของหน่วยคอมมานโดอย่างยูริโกะ โอเมกา ของจักรวรรดิ โดยแต่ละการทัพมีความยาวสามภารกิจ ยกเว้นหนึ่งภารกิจของโซเวียต ที่ประกอบด้วยสี่ภารกิจ ซึ่งแรกเริ่มเดิมที มีเพียงการทัพของโซเวียตและยูริโกะเท่านั้น ส่วนการทัพสำหรับฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิแห่งอาทิตย์อุทัยจะพร้อมใช้งานหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจแรกในการทัพโซเวียต

โครงเรื่อง[แก้]

ทั้งสามการทัพถือว่าฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะเมื่อสิ้นสุดเรดอเลิร์ต 3 โดยทั้งสหภาพโซเวียตและจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยอมจำนน

การทัพโซเวียตมุ่งเน้นไปที่การต่อต้านโซเวียตที่เหลืออยู่ซึ่งพยายามจะหยุดฟิวเจอร์เทค ซึ่งเป็นผู้รับจ้างป้องกันฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งมีแผนจะสร้างอาวุธพิเศษที่เรียกว่า "ซิกมาฮาร์โมไนเซอร์" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เลือกหยุดเวลา โดยมีการเปิดเผยว่าฟิวเจอร์เทคได้รับความช่วยเหลือจากรูเพิร์ต ธอร์นลีย์ ผู้เป็นประธานสหภาพยุโรป และธอร์นลีย์วางแผนที่จะลบสหภาพโซเวียตออกจากเส้นเวลา

ส่วนการทัพฝ่ายสัมพันธมิตรมุ่งไปที่การเอาชนะผู้บังคับบัญชาของจักรวรรดิหลายนายที่ยังคงต่อต้านการยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งดูเหมือนจักรพรรดิทัตสึเริ่มร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรแล้ว แต่ก็เปิดเผยพระประสงค์ที่แท้จริงของพระองค์หลังจากที่อำนาจทางการทหารของพระองค์กลับคืนมาจากการล่มสลายของทาการะ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสุดท้ายในการทัพฝ่ายสัมพันธมิตร

และการทัพจักรวรรดิครอบคลุมการต่อสู้กับนายพลโซเวียตสองนายซึ่งความพยายามที่จะยึดครองส่วนต่าง ๆ ของญี่ปุ่นที่ถูกละเลยโดยผู้ว่าการฝ่ายสัมพันธมิตร ในที่สุดกองกำลังพันธมิตรก็ตัดสินใจเข้าแทรกแซงในภารกิจสุดท้ายโดยโจมตีคู่สงครามทั้งสอง

การทัพยูริโกะเล่าถึงเรื่องราวของยูริโกะ โอเมกา, ต้นกำเนิดและการค้นพบของเธอโดยกองทัพจักรวรรดิ, การจับกุมของเธอโดยฝ่ายสัมพันธมิตร และการต่อสู้ของเธอเพื่อช่วยเหลือน้องสาวของเธอ ซึ่งไม่เหมือนกับการทัพอื่น ๆ การทัพนี้คล้ายกับเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทแทนที่จะเป็นวางแผนเวลาจริง ส่วนมุมกล้องได้ล็อกไว้ที่ยูริโกะเสมอ รวมถึงแถบด้านข้าง, แผนที่ย่อ ตลอดจนเครื่องวัดภัยคุกคามจะถูกแทนที่ด้วยแถบคำสั่งขนาดกะทัดรัดที่มอบให้แก่ยูริโกะและความสามารถของเธอ

คอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์[แก้]

ภาคอัปไรซิงยังมีโหมดที่เรียกว่าคอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์ซึ่งผู้เล่นสามารถเล่นปะทะกับผู้บังคับบัญชาปัญญาประดิษฐ์ที่มีระดับทักษะต่าง ๆ โหมดนี้ยังได้รับการเปิดตัวในฐานะเกมที่ดาวน์โหลดได้แบบสแตนด์อโลนสำหรับเพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บอกซ์ 360

คอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์มี 50 สถานการณ์ที่แตกต่างกันและยากขึ้นตามลำดับ โดยอิงอย่างหย่อนจากคอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์จากคอมมานด์ & คองเคอร์: เจเนอรัลส์ – ซีโรเอาเออร์[3] ซึ่งมีผู้บังคับบัญชาที่กลับมาจากเรดอเลิร์ต 3 รวมถึงผู้บังคับบัญชาใหม่บางนาย[4] โดยมีหน่วยเฉพาะของการทัพบางหน่วยที่ปรากฏในเรดอเลิร์ต 3 ดั้งเดิม เช่น เทสลาแทงก์ และโชกุนเอกซิคิวชันเนอร์[5] ตลอดจนแผนที่บางแผนที่ในคอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์ยังมีเอฟเฟกต์พิเศษ เช่น ขยะที่ตกลงมาจากท้องฟ้า หรือหน่วยที่สร้างบนแผนที่จะหดตัวลง[6][7] ก่อนทำภารกิจใด ๆ ให้สำเร็จ ผู้เล่นจะเข้าถึงได้เฉพาะหน่วยพื้นฐานของแต่ละฝ่าย แต่เมื่อทำภารกิจสำเร็จแต่ละภารกิจ จะปลดล็อกยูนิตเพิ่มเติมจากแผนผังเทคโนโลยีของคู่ต่อสู้ที่ท้าทายนั้น

บางภารกิจมีมาตรฐานอื่น เช่น บลัดฟิวด์ ซึ่งผู้บังคับบัญชาอย่างชินโซ และเค็นจิ จะต่อสู้กันเองจนกว่าผู้เล่นจะโจมตีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้ ในคอมแมนเดอส์ชาลเลนจ์ ผู้เล่นสามารถเลือกฝ่ายที่จะเล่นต่อภารกิจ แทนที่จะเล่นทั้งเกมเป็นฝ่ายเดียว เกมนี้มีความท้าทายหลัก 13 รายการ และความท้าทายด้านอื่นอีก 37 รายการซึ่งจะปลดล็อกเมื่อกระทำผ่านเกม

อ้างอิง[แก้]

  1. "Command& Conquer Red Alert 3: Uprising". EA Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2009. สืบค้นเมื่อ April 1, 2009.
  2. 2.0 2.1 Download Red Alert 3: Commander's Challenge เก็บถาวร ธันวาคม 8, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "Command & Conquer: Red Alert 3 Returns With An Uprising". Command & Conquer.com. มกราคม 8, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 1, 2009. สืบค้นเมื่อ มกราคม 27, 2009.
  4. "Command & Conquer: Red Alert 3 Uprising Q&A – New Campaign, Units, and More". GameSpy. January 14, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-16. สืบค้นเมื่อ January 27, 2009.
  5. Simon, Gavin (February 9, 2009). "Commanders Challenge Video #1". Command & Conquer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2009. สืบค้นเมื่อ April 1, 2009.
  6. Simon, Gavin (February 10, 2009). "Commanders Challenge Video #2". Command & Conquer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2009. สืบค้นเมื่อ April 1, 2009.
  7. Simon, Gavin (February 11, 2009). "Commanders Challenge Video #3". Command & Conquer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2009. สืบค้นเมื่อ April 1, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]